เชิญชม นิทรรศการศิลปะกลางแจ้ง “ตุงบันไดสวรรค์ : A Flight Beyond”โดย อรุณประไพ โรจนะโชติกุล และ ธนวัฒน์ เทพเธียร จาก Loolii Studioเชียงใหม่ดีไซน์วีค 2020 5-13 ธันวาคม 2563 ลานหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
หลูหลี สตูดิโอ
หลูหลี.. บะหลูหลี
ทางเหนือใช้เรียกหางฝ้าย ที่นำดอกฝ้ายมาดีดหรือยิงให้เป็นปุยแล้วพันเป็นหลอดยาว เป็นหางฝ้าย นำไปปั่นเป็นเส้นฝ้ายไว้ทอผ้า เปรียบกับชีวิตของคนที่รักการทำผ้า ชีวิตบนเส้นด้าย ก่อนจะกลายเป็นเส้นผ่านการเรียนรู้และลงมือทำ หลูหลี จึงเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่เลือกเดินและอยู่ในเส้นทางสายนี้ มาบอกเล่าเรื่องราวจากงานผ้า หัตถกรรมท้องถิ่น องค์ความรู้และภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่สู่ร่วมสมัย ผ่านมุมมองยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและสร้างทางเลือกใหม่ให้ก่อเกิดประโยชน์ (นุสรา เตียงเกตุ)
ในปัจจุบันที่สังคมมีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ท้องถิ่นเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตและชุมชน สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ทำงานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาเหล่านี้ จึงถือเป็นภารกิจหนึ่งในการเรียนรู้ คลี่คลายกระบวนการเพื่อฟื้นฟูประเพณีผ่านวัฒนธรรมนวัตกรรมสืบสานให้สิ่งเหล่านี้ยังคงสืบต่อไป
ในงาน Chiangmai Design Week 2020 หลูหลีสตูดิโอสร้างสรรค์ผลงาน ‘ตุงบันไดสวรรค์ – A Flight Beyond’ โดยนำภูมิปัญญาการทำตุงชนิดหนึ่งของชาวดาราอั้ง (ปะหล่อง) มีชื่อเรียกว่า ‘กันทอน อือแตง-อาจัง’ จากเดิมเป็นตุงประดับขนาดเล็กมาขยับขยายให้เป็นผลงานศิลปะกลางแจ้ง หรือ Outdoor Installation ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้คนร่วมยุคได้รับรู้เรื่องราว ภูมิปัญญาที่น่าสนใจของชาวดาราอั้ง
‘กันทอน อือแตง-อาจัง’ เป็นตุงชนิดหนึ่งของชาวดาราอั้ง ซึ่งมีมาแต่โบราณ ลักษณะมีเอกลักษณ์ทางโครงสร้างชัดเจนแตกต่างจากตุงที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นโครงสร้างซ้อนชั้น เชิงสามมิติ ขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่ และใช้เส้นด้ายหลากสีขึงในการตกแต่งและเชื่อมแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
ตามความเชื่อของชาวดาราอั้ง ตุงชนิดนี้มีรูปลักษณ์คล้ายขั้นบันไดที่ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ จึงสื่อเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่สวรรค์ การใช้งานของตุงชนิดนี้ ส่วนใหญ่มักนำมาประดับ ตกแต่งในงานมงคล งานเฉลิมฉลอง และพิธีทางศาสนา โดยจำนวนชั้นของตุงแล้วแต่ศรัทธา หากตามคติความเชื่อแล้ว เมื่อทำถวายวัดจะนิยมทำทั้งหมดด้วยกัน 7 ชั้น ปัจจุบันตุงชนิดนี้มีน้อยคนในชุมชนที่ยังคงสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ได้
ภายใต้หัวข้อ ‘Stay Safe, Stay Alive’ ของ Chiangmai Design Week 2020 ภูมิปัญญาดั้งเดิมถูกนำมาคลี่คลายกระบวนการสร้าง เพื่อเรียนรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และนำมาสร้างสรรค์งานในบริบทใหม่ตามแนวคิดของหลูหลี เรียนรู้ เข้าใจและลงมือทำ นำเสนอเรื่องราว วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ และขอเชิญมาร่วมเรียนรู้ ลงมือทำ ให้องค์ความรู้นี้อยู่สืบไป ภายใต้การตีความในแบบฉบับของหลูหลี ‘อยู่ด้าย อยู่ดี’ วิถีชีวิตที่สืบสานภูมิปัญญาและหัตถกรรมท้องถิ่น ในกิจกรรมเวิร์คช็อป “ตุงดาราอั้ง (ปะหล่อง) : Dara’ang Flag decoration” วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2563 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (ข้างหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) เวลา 10.00น. – 16.00น. แบ่งออกเป็น 2 รอบเช้าบ่าย 10.00น. – 12.00น. และ 14.00น. – 16.00น.
‘Guntorn Eue-thaeng Ah-jung’ is one of Dara’ang tribe’s flag decorations. The flag features a unique three-dimensional layered tiers built with bamboo structure. Threads are then used to decorate and connect all layers together.
According to Dara’Ang beliefs, due to its form and structure of stairs like, this flag symbolizes stairway to heaven. The general usages of this flag are decorations for auspicious ceremonies, celebrations and religious rituals. Number of tiers is not strictly limited but rely upon faith. However, if made as offerings to the temple, it is usually comprised of 7 tiers. Nowadays, there are not many people in the community who can pass on this local wisdom and knowledge.
Workshop will be held on Saturday 5th December 2020 at Chiangmai Historical Centre (located behind Three Kings monument)
Time: 10.00 – 16.00 (divided into two sessions morning and afternoon 10.00 – 12.00 and 14.00 – 16.00)
cmdw2020 #banraijaisook #looliistudio #aflightbeyond #ตุงบันไดสวรรค์ #ตุงปะหล่อง #ตุงดาราอั้ง