08.30 น. - 16.30 น.
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการวันจันทร์-อังคาร

100 ปี

หนึ่งศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง
พิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่

พ.ศ. 2462 – 2562

2462
(A.D 1919)

ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพเปิดทำการเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. พ.ศ. 2462

นครเชียงใหม่อยู่ในสถานะหัวเมืองในมณฑลพายัพ ภายใต้ระบบมณฑลเทศาภิบาลของสยาม มีเจ้าแก้วนวรัฐ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์ที่ 9)

ราชอาณาจักรสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

2464
(A.D 1921)
chiang mai railway

เปิดใช้สถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2464

2465
(A.D 1922)

เริ่มมีการปลูกต้นยางนาสองข้างถนนเชียงใหม่-สารภี

2469
(A.D 1926)

พระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จประทับแรม ณ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ

พิธีพระบรมราชาภิเษกพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

2470
(A.D 1927)

เปิดธนาคารแห่งแรกของเชียงใหม่ (ธนาคารสยามกัมมาจล) เริ่มต้นยุคสมัยแห่งความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจบนถนนท่าแพ

2472
(A.D 1929)

(พ.ศ. 2457-2476) เจ้าดารารัศมี ทรงฟื้นฟูศิลปะการแสดงของล้านนา

 

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของโลก

2475
(A.D 1932)

ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพเปลี่ยนเป็น ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างอาคารศาลมณฑลพายัพ(ศาลแขวง) ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

เชียงใหม่เปลี่ยนเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาณาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

2476
(A.D 1933)

พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) เปลี่ยนสถานะจากปลัดมณฑลจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คนแรก

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทย

2477
(A.D 1934)

ครูบาศรีวิชัย ลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพในวันที่ 9 พ.ย. 2477

2478
(A.D 1935)

เปิดถนนศรีวิชัย ถนนสำหรับให้รถขึ้นดอยสุเทพเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2478

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8 ) ขึ้นครองราชย์

2479
(A.D 1936)

เชียงใหม่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2479 นับเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไทย

2482
(A.D 1939)

เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ถึงแก่พิราลัย สิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

จอมพล ป. พิบูลสงครามเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย

2484
(A.D 1941)

สงครามโลกครั้งที่ 2

2489
(A.D 1946)

พระบามสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชการที่ 9 )ขึ้นครองราชย์

2491
(A.D 1948)

เทศบาลเชียงใหม่ได้รื้อแนวกำแพงเมืองชั้นในที่ทรุดโทรมออก เพื่อสร้างถนนรอบคู่เมือง

2494
(A.D 1951)

สร้างพุทธสถานบริเวณเชิงสะพานนวรัฐ

2496
(A.D 1953)

ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ รื้อฟื้นประเพณี รับประทานอาหารแบบขันโตก สำหรับตอนรับแขกบ้าน แขกเมือง

2497
(A.D 1954)
Aerial photo Chiang Mai

มีการถ่ายภาพทางอากาศเมืองเชียงใหม่ และทำให้กรมศิลปากรค้นพอาณาเขตของเมืองโบราณทั้ง 4 เมือง อันนำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีในเวลาต่อมา

2498
(A.D 1955)

ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ (หลังปัจจุบัน) บริเวณกาดเมืองใหม่

2500
(A.D 1957)

สวนสัตว์เชียงใหม่เปิดให้เข้าชมครั้งแรก เมือวันที่ 6 เมษายน

2501
(A.D 1958)

พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯประพาสจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรก

2504
(A.D 1961)

ประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (2504-2509) ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่มีการขยายตัวอย่างมาก

2507
(A.D 1964)

ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของภูมิภาค เมือวันที่ 18 มิ.ย

2510
(A.D 1967)

เปิดใช้สะพานนวรัฐที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (สะพานที่ใช้กันในปัจจุบัน)

2511
(A.D 1968)
fire-warorot-market

ไฟไหม้ตลาดวโรรสครั้งใหญ่

นิล อาร์มสตรอง โดยสารยานอวกาศ Apollo 11 ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลก

2512
(A.D 1969)
lampang-superhighway-1969

ตัดถนนเชียงใหม่-ลำปาง สาย 11 หรือถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งต่อมากลายเป็นทางหลวงสายหลักเชื่อมเชียงใหม่สู่จังหวัดลำพูน ลำปาง และกรุงเทพ

2514
(A.D 1971)

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เปิดทำการครั้งแรก

2515
(A.D 1972)

ประดิษฐานอนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละบริเวณหน้าค่ายกาวิละ

2516
(A.D 1973)

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่ เปิดทำการ

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม การเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญของประเทศไทย

2518
(A.D 1975)

แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชาอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยครั้งแรกมีแผนการจัดสร้าง ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครเชียงใหม่ บริเวณประตูท่าแพ

2519
(A.D 1976)
chiang-mai-women-cycling-beauty-contest

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่จัดกิจกรรมแม่ญิ๋งปั่นรถถีบกางจ้อง ขึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนต่อมาจะกลายเป็นหนึ่งภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเมือง

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

2520
(A.D 1977)

จรัลมโนเพ็ชร สร้างชื่อระดับประเทศในฐานะศิลปินโฟล์คซองคำเมือง

2523
(A.D 1980)

ชัยยา พูนศิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินงานจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ รวมทั้งมีนโยบายย้ายศูนย์ราชการไปยังศาลากลางแห่งใหม่นอกเมือง

2525
(A.D 1982)

ประติมากร ไข่มุกต์ ชูโต เริ่มออกแบบและปั้นหล่ออนุสาวรีย์สามกษัตริย์

2527
(A.D 1984)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชินี เสด็จทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เมือวันที่ 30 ม.ค.

2528
(A.D 1985)
thapae-gate-1985

เทศบาลนครเชียงใหม่ร่วมกับกรมศิลปากร สร้างประตูท่าแพ และข่วงท่าแพขึ้นมาใหม่

2529
(A.D 1986)

ภาคประชาสังคมเดินขบวนครั้งใหญ่ เพื่อคัดค้านการสร้างกระเช้าขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์อันจุดประกายให้เกิดเครือข่ายเพื่อเมืองเชียงใหม่อีกหลากหลายเวลาต่อมา

2530
(A.D 1987)

ไพรัตน์ เดชะรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดวางนโยบายกำหนดให้ศาลากลางหลังเดิม เป็นศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

2534
(A.D 1991)
chiang-mai-UNESCO

เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและบริวารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก พร้อมเมืองประวัติศาสตร์อยุธยา

2535
(A.D 1992)

อุทยานการต้ากาดสวนแก้วเปิดทำการ

2536
(A.D 1993)

แผนโครงการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้รับความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี

เชียงใหม่จัดวางสังคม เทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่จัดขึ้นทั่วเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งแรก(จัดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2536 – 2539)

2538
(A.D 1995)

เชียงใหม่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ พร้อมเปิดใช้สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

2539
(A.D 1996)

จังหวัดเชียงใหม่ฉลองครบรอบ 700 ปี

ย้ายศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ จากอาคารหลังเดิมในพื้นที่กลางเวียง ไปตั้งอยู่บนถนนโชตนา และบูรณะอาคารเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมรายงานว่าประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคน

2542
(A.D 1999)

อาคารหอศิลปวัฒนธรรมฯได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ

2544
(A.D 2001)

คุ้มเจ้าบุรีย์รัตน์(มหาอินทร์) ได้รับการปรับปรุงเป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา

2545
(A.D 2002)

สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดประธานในพิธีเปิดหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ วันที่ 5 พ.ย.

2547
(A.D 2004)

เลือกตั้งนายเทศมนตรีโดยตรงเป็นครั้งแรก นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ได้รับเลือก

2548
(A.D 2005)

ก่อตั้งภาคีคนฮักเจียงใหม่ เครือข่ายภาคประชาชนหลากสาขาที่รวมตัวกันเพื่อคัดค้านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2549
(A.D 2006)

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549

รัฐประหารโดยคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 19 ก.ย.

2551
(A.D 2008)

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ที่สร้างทับคุ้มหลวงเวียงแก้วเดิมให้เป็นสวนสาธารณะของเมือง

2555
(A.D 2012)

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ เปิดทำการ

2556
(A.D 2013)

สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดประธานในพิธีเปิดหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา วันที่ 13 ส.ค.

รื้อถอนทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่และเปิดให้ชาวเชียงใหม่เข้าชม ก่อนจะมีการกันพื้นที่เพื่อให้กรมศิลปากรขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะต่อไป

2558
(A.D 2015)

หอภาพถ่ายล้านนาเปิดทำการเป็นครั้งแรก โดยเป็นหอภาพถ่ายแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เสนอชื่อเขตเมืองเก่าเชียงใหม่และพื้นที่ดอยสุเทพ เข้าไปอยู่ในบัญชีเบื้องต้น Tentative List ของคณะกรรมการคัดเลือกมรดกโลกองค์การยูเนสโก

ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2559
(A.D 2016)

พิธีอันเชิญพระธาตุศรีจอมทองเข้าเวียง ฉลองเชียงใหม่อายุครบ 720 ปี

ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ต.ค.

2560
(A.D 2017)

เมืองเชียงใหม่ได้รับประกาศเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

2561
(A.D 2018)
chiang-mai-arts-cultural-centre-exhibition

เปิดนิทรรศการถาวรเชียงใหม่ของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

2562
(A.D 2019)

อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่อายุครบ 100 ปี

เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554