08.30 น. - 16.30 น.
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการวันจันทร์-อังคาร

Museum

หอกลางเวียง

อาคารหอกลางเวียง เป็นอาคารเดิมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาลาว่าการ รัฐบาลมณฑลพายัพ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 มีการยกเลิก ระบบมณฑลเทศาภิบาล อาคารหลังนี้จึงใช้เป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ จนเมื่อเมืองขยายตัวมากขึ้น สถานที่ของศาลากลางจังหวัดไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และให้บริการประชาชน จึงได้มีการสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ขึ้นและส่วนราชการ ได้ทยอยย้ายไปยังสถานที่แห่งใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 จนครบทุกหน่วยงานในปี พ.ศ.2539

เวลาทำการ

08.30 - 16.30
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการวันจันทร์-อังคาร

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่: 20
เด็ก : 10

ตำแหน่ง

+66 53 217 793
เส้นทาง

ห้องนิทรรศการถาวรจำนวน 15 ห้อง จัดแบ่งตามเนื้อหาสาระนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านแปงเมือง ล่วงเลยผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ระบบการปกครอง วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของชาวเชียงใหม่นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่ออันทันสมัย ทั้งวีดีทัศน์ ซอฟแวร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟฟิค และภาพประกอบคำบรรยาย เพื่อให้การชมนิทรรศการได้ทั้งความรู้ และความตื่นตาตื่นใจ

หอกลางเวียง

นิทรรศการถาวร

1

เชียงใหม่วันนี้

เชียงใหม่วันนี้

เชียงใหม่วันนี้ ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่, คุณค่าของเมือง ที่ผสานวัฒนธรรมประเพณีไว้กับวิถีชีวิตร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืน

2

ก่อนจะเป็นเชียงใหม่

ก่อนจะเป็นเชียงใหม่

ร่องรอยอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในดินแดนที่ต่อมา คือล้านนา มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ บ่งบอกถึงการมี ผู้คนอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปหลายพันปี

3

อารยธรรมสองลุ่มน้ำ

อารยธรรมสองลุ่มน้ำ

พระญามังรายสถาปนาเมืองเชียงรายหรือโยนกนครขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำกก หลังจากนั้นอีกสองทศวรรษได้มุ่งลงใต้และยึดเมืองหริภูญชัยบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นศูนย์กลางอันเจริญมั่งคั่งของอาณาจักรมอญในเวลานั้น นับเป็นการเริ่มต้นก่อรูปขึ้น ของอาณาจักรล้านนา

4

สร้างบ้านแปงเมือง

สร้างบ้านแปงเมือง

การตั้งเมืองเชียงใหม่ได้เริ่มจากการหาทำเลที่ตั้งโดยความเชื่อเรื่องนิมิตและชัยมงคล และวางผังเมืองโดยอิงคติความเชื่อความมีตัวตนของเมือง มองเมืองเปรียบเหมือนร่างกาย ความเชื่อทางศาสนา เรื่องไตรภูมิ รวมทั้งทักษา จึงมีพิธีกรรมและประเพณี ที่เชื่อมโยงระหว่าง ความคิดความเชื่อกับเมืองมาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน นอกจากนี้ เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีสัณฐานเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมต่างจากเมือง ในยุคสมัยเดียวกันในภูมิภาคนี้

5

ความสัมพันธ์กับภูมิภาค

ความสัมพันธ์กับภูมิภาค

เมื่อเมืองเชียงใหม่รุ่งเรืองขึ้นมีการติดต่อสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ
ในภูมิภาคใกล้เคียงทั้งด้านการค้า และการบริหารการปกครอง ทำให้มีทั้งการรับและส่งต่ออิทธิพลทางวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา อาหาร การแต่งกาย ภาษา

6

ร้อยปีล่วงแล้ว

ร้อยปีล่วงแล้ว

การทำสัมปทานป่าไม้และการสร้างทางรถไฟ อีกทั้งความเจริญทางการค้าและการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองได้ทำให้เชียงใหม่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

7

สิ่งดีงามของเชียงใหม่

สิ่งดีงามของเชียงใหม่

เอกลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และงานศิลปหัตถกรรม ร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน และสถาปัตยศิลป์ที่แสดงถึงความรุ่งเรือง ของเมืองเชียงใหม่ในอดีต สอดแทรกอยู่ในทุกอณูของเมืองเชียงใหม่

8

ประวัติอาคาร

ประวัติอาคาร

แสดงประวัติความเป็นมาและความสำคัญของอาคาร
"หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่"

9

เจ้าหลวงเชียงใหม่

เจ้าหลวงเชียงใหม่

การปกครองระบบเจ้าเมืองเชียงใหม่ภายหลังจากพระเจ้ากาวิละได้ต่อสู้เพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

10

ชีวิตริมฝั่งแม่น้ำปิง

ชีวิตริมฝั่งแม่น้ำปิง

พายเรือขึ้นล่องหาปลา..........ทำนาริมสองฝั่งปิง คือภาพชีวิตปกติของชาวล้านนา....... ความสำคัญของแม่น้ำปิงต่อการดำรงชีวิตของชาวเชียงใหม่และการอยู่อาศัยของผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำปิง

11

คนในเวียง

คนในเวียง

วิถีชีวิตของคนในเมืองเชียงใหม่ที่มีผู้คนหลากหลายอาชีพ และวัฒนธรรม มีร้านค้าเรือนแถว และกาดมั่วแบบท้องถิ่นที่ผู้คนเอาสินค้า ในการดำรงชีวิตประจำวันมาซื้อขายแลกเปลี่ยน

12

พุทธศาสนากับคนเมือง

พุทธศาสนากับคนเมือง

พุทธศาสนาคือหลักยึดมั่นของวัฒนธรรมล้านนา วิหารในวัดล้านนาเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และยังเป็นพื้นที่แสดงถึงองค์ประกอบทางพุทธศิลป์ในแบบล้านนา

13

ประเพณี 12 เดือน

ประเพณี 12 เดือน

ประเพณี 12 เดือน ซึ่งประกอบด้วย ประเพณีในระบบความเชื่อเรื่องผีและบูชาบรรพบุรุษ ประเพณีตามความศรัทธาในพุทธศาสนา และประเพณีร่วมสมัย

14

สังคมเกษตรกรรม

สังคมเกษตรกรรม

ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง ทำให้คนเชียงใหม่ มีระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการน้ำแบบเหมืองฝาย เพื่อแบ่งปันการใช้น้ำอย่างเป็นธรรม

คนบนดอย

คนบนดอย

ตามสันเขาและไหล่เขารอบเชียงใหม่ มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างมาอาศัยตั้งถิ่นฐานกลุ่มคนเหล่านี้ มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นของตนเองแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน อีกทั้งเป็นส่วนสำคัญ ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเชียงใหม่