หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
จากอดีตจนถึง ปัจจุบันเมืองเชียงใหม่ผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 700 ปี มีความสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของประเทศไทย
เวลาทำการ
08:30 - 16:30
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการนจันทร์-อังคาร
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่: ๒๐
เด็ก : ๑๐
ตำแหน่ง
ศูนย์มรดกเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
ในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งด้วยเหตุนี้ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre) จึงได้จัดแสดงนิทรรศการ เรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ นับแต่สร้างเมืองเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน อาคารหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ด้านหลัง หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ภายในพื้นที่ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการถาวร แหล่งขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นแนวกำแพงโบราณของวัดพระแก้วในอดีต ที่สร้างขึ้นตามคติของชาวไทยภาคกลาง และห้องสมุดพื้นบ้าน-ย่าน-เวียงเชียงใหม่ แหล่งค้นคว้าข้อมูลสาธารณะสำหรับชาวเชียงใหม่
นิทรรศการถาวร
ก่อนราชวงศ์มังราย
กล่าวถึงชุมชนลัวะ หรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ อิทธิพลด้านแนวคิดความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ ของลัวะ ที่ยังสืบทอดมาให้เห็นและมีบทบาทในปัจจุบัน ตำนวนพื้นเมืองเชียงใหม่ และการใช้ประโยชน์จากตำนาน เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นมาของ ชนชาติ จลอดจนการหลอมรวมทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่
ยุคราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1839-2101)
เรื่องราวการสร้างเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่แรก เริ่มจนถึงยุครุ่งเรือง กฎหมายมังรายศาสตร์ พุทธศาสนา พัฒนาการของอักษร ภาษา และวรรณกรรมล้านนา ยุทธศาสตร์และเส้นทางการค้าของเชียงใหม่
พม่าปกครอง (พ.ศ.2101-2317)
ประวัติศาสตร์กว่า 200 ปี ในช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่กายใต้การปกครองของพม่า การต่อสู้ และร่องรอยการผสมผสานทางวัฒนธรรม ที่หลงเหลือไว้ในงานสถาปัตยกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ
หลังเป็นอิสระจากพม่า (พ.ศ.2317-2475)
สภาพบ้านเมืองเชียงใหม่หลังเป็นอิสระจากการ ถูกปกครองโดยพม่า การรวบรวมกำลังคนเพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง บทบาทของเจ้าผู้ครองนครต่อพลเมือง การตกเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ตลอดจนการขยายตัวของความเจริญผ่านการเข้ามาของเส้นทางเดินรถไฟ และเส้นทางคมนาคมสมัยใหม่
จากประเทศราชเป็นจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)
บทบาทของเชียงใหม่เมื่อครั้งยังเป็นเมือง ประเทศราชการติดต่อทางการค้าและธุรกิจป่าไม้กับต่างชาติ ความขัดแย้งกับคณะมิชชันนารี การปรับปรุงรูปแบบ การปกครองในรูปของมณฑลเทศาภิบาลในการต่อมา การปฏิรูปการปกครองของสยามอันส่งผลต่อการเปลี่ยนสถานะ ของเชียงใหม่เป็นจังหวัดเท่าเทียมกับจังหวัดอื่นๆ
แหล่งโบราณคดีแนวกำแพงโบราณ
หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีแนวกำแพงโบราณ 2 แห่ง ภายในพื้นที่ของหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ มีอายุอยู่ในชั้นดินทางวัฒนธรรม ระยะที่ 2 ราวสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงของวัดพระแก้วเดิม ซึ่งสร้างขึ้นเป็นวัดในพระราชวังตามคติของภาคกลาง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามของกรุงรัตนโกสินทร์
ศูนย์ฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่
ศูนย์ฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการและแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ของเมืองเชียงใหม่ในเรื่องข่าวสาร ประวัติศาสตร์ ศิลปะ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์