08.30 น. - 16.30 น.
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการวันจันทร์-อังคาร

Museum

หอพื้นถิ่นล้านนา

หอพื้นถิ่นล้านนาตั้งอยู่ที่อาคารศาลแขวง (เดิม) บริเวณตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในย่านกลางเวียงเชียงใหม่ เมืองประวัติศาสตร์

เวลาทำการ

08:30 - 16:30
เปิดพุธ-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ปิดทำการนจันทร์-อังคาร

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่: ๒๐
เด็ก : ๑๐

ตำแหน่ง

ศูนย์มรดกเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

+66053-217-793
เส้นทาง

ชาวล้านนามีรูปแบบ ทางศิลปวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน ภายใต้เอกลักษณ์ความงดงาม ภายนอกนั้นได้แฝงความหมายภายใน ที่สะท้อนถึงคติความเชื่อ และความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวล้านนา พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาได้รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา ลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่างๆ เช่น พุทธศิลป์ พิธีกรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม ไว้ด้วยกัน 

หอพื้นถิ่นล้านนา

นิทรรศการถาวร

1

ข่วงแก้วล้านนา

นำเสนอต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดตั้งเดิมในเรื่องการปกปักรักษาโดยจิตวิญญาณต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา

2

ภายในวิหาร

นำเสนอแบบแผนสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงาม แอบแฝงความหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนา

3

เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา

ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ในพิธีกรรมทาง ศาสนา ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือ ลวดลายต่าง ๆ มีที่มาจากคติความเชื่อที่สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นสิริมงคล

4

ประติมากรรมในพุทธศาสนา

นำเสนองานประติมากรรมประเภทต่างๆ ในสมัยโบราณที่สร้างในล้านนา รวมไปถึงสกุลช่างพื้นบ้านปัจจุบัน ความหลากหลายทางรูปแบบและวัสดุ ที่ใช้ทั้งปูนปั้น หิน แก้ว ไม้ โลหะ ประติมากรรมลอยตัว นูนสูง และนูนต่ำ ซึ่งมักพบเป็นส่วนประดับส่วนหนึ่งของอาคารของชาวล้านนา

5

แห่ครัวทาน

ให้ความรู้เรื่องประเพณีแห่ครัวทาน อันเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศรัทธาในพุทธศาสนาและยังสัมพันธ์กับศิลปะ อื่นๆ เช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน การขับซอ

6

จิตรกรรมล้านนา

นำเสนองานจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่าง เชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรม บนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะการเขียนจิตรกรรมบนกระจก และการเขียนในลาน การบันทึกองค์ความรู้แขนงต่างๆ ในอีต เช่น จักรวาลวิทยา การเมืองการปกครองโหราศาสตร์ วรรณกรรม ตำรายา การสักยันต์

7

หัตถศิลป์พื้นบ้าน

นำเสนอเรื่องเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีบทบาท สำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เน้นที่งานเครื่องเขินและเครื่องปั้นดินเผา รูปทรงและลวดลาย ตามสกุลช่างต่างๆ อันแสดงถึงความชินาญของช่างแต่ละท้องถิ่นสถาพภูมิศาสตร์ สังคม ตลอดจนค่านิยมต่างๆ

8

จักสาน ทำมาหากิน

นำเสนอประเพณีความคิดความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรกรรมของชาวบ้านในล้านนา และเครื่องมือเครื่องใช้จากการจักสาน

9

ดนตรี วิถีชีวิต

แสดงถึงประเพณีแอ่วสาว และเรื่องราวของดนตรีที่มีส่วนสมัพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวล้านนา จนถึงอาหารการกินแบบล้านนา

10

ประวัติอาคาร

นำเสนอประวัติของอาคารศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่

11

มหรรฆภัณฑ์ล้านนา

นำเสนอเรื่องราวของงานเครื่องสูงของล้านนา ที่ใช้ในการสักการะบูชาพระธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งทำจากเงิน ทอง แก้ว แหวน และเครื่องประดับต่างๆ เรื่องราวของหัวใจพระเจ้าซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปทำด้วยเครื่องเงิน ภายในบรรจุอัญมณีต่างๆ รวมถึงลักษณะ การบรรจุพระธาตุจำลอง ซึ่งใช้ในพิธีวางฤกษ์แบบโบราณล้านนา

12