การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่

เอกสารประกอบการวิจัย “การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่” งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาถึงนโยบายและแผนพัฒนาเมืองของภาครัฐ/องค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งกำหนดทิศทางให้เป็นเมืองหลักหรือเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) เพื่อเป็นเมืองที่รองรับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่รัฐมองเห็นว่ามีความคุ้มค่า ศึกษาบทบาทของภาคประชาชนที่มีต่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่เพื่อทำความเข้าใจพื้นที่การทำงานและประเด็นการทำงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดและความสนใจของประชาสังคมที่แตกต่างออกไปจากหน่วยงานรัฐ มีทั้งด้านความขัดแย้งและความร่วมมือกันในการทำงาน มีทั้งความต้องการคัดค้านนโยบายหรือแผนงานโครงการที่ประชาชนไม่เห็นชอบ หรือการเรียกร้องให้รัฐเข้ามาดำเนินการในภารกิจที่เห็นว่าจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้ศึกษาการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ การใช้ประโยชน์จากรัฐสวัสดิการ ความสัมพันธ์ของการบริการและความต้องการของชุมชน โดยสำรวจออกมาในรูปแบบแผนที่ให้ศึกษาได้ ดังนี้

พื้นที่การเข้าถึงตามระยะทางสู่ตำแหน่งโบราณสถาน

พื้นที่บริการตามระยะทางของพื้นที่สีเขียว

พื้นที่การบริการตามระยะทางจากโรงแรมกับอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่า

ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจารจร

พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการระยะทาง 400 เมตรจากร้านกาแฟ

พื้นที่การเข้าถึงตามระยะทางจากโรงพยาบาลไปยังตำแหน่งที่มีการช่วยเหลือด้านโควิด-19

พื้นที่บริการตามะยะเวลาการเดินทางจากสถานีดับเพลิงกับตำแหน่งโบราณสถาน

ระยะทางการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองเก่ากับความหนาแน่นของประชากร

พื้นที่บริการตามระยะทางของการเข้าถึงตลาดในเมืองเชียงใหม่

พื้นที่การเดินทางจากสถานรับเลี้ยงเด็กกับสถานพยาบาล

ศักยภาพของถนนสำหรับการจอดรถริมทางในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่

ตำแหน่งอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่ากับรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่

สถานภาพการสำรวจการมีอยู่ของอาคารเก่าในเมืองเชียงใหม่

ตำแหน่งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำคลองแม่ข่าในพื้นที่ผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่

ความกว้างของซอยในย่านชุมชนช้างม่อยที่จะส่งผลต่อความเหมาะสมของการเดินและการมองเห็นในซอย